เงินเดือนเท่าไหร่เสียภาษี? เป็นคำถามที่อยู่คู่กับมนุษย์เงินเดือน ที่เชื่อว่าหลายคนอาจไม่รู้ว่ารายได้ของเราอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ และปล่อยผ่านไปอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จนยาวนาน จนวันหนึ่งเกิดความโป๊ะป๊ะ! สรรพากรตรวจสอบพบว่าไม่เคยเสียภาษีมาก่อนเลย ก็อาจโดนภาษีย้อนหลัง และล้มละลายทางการเงินได้ วันนี้มันนี่ฮับ จึงจะมาแบ่งปันและหาคำตอบไว้ให้แล้ว!
มือใหม่ควรรู้เงินเดือนเท่าไหร่เสียภาษี
สำหรับผู้ที่ต้อง เสียภาษี นั้นคือหน้าที่ของผู้ที่มีรายได้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน รวมถึงทรัพย์สิน ที่ได้รับตลอดปีมาทำการรวมกัน ซึ่งถ้าหากรวมแล้วได้รับไม่เกิน 120,000 บาทต่อปี ก็จะไม่ต้องยื่นภาษีเงินได้
ขั้นตอนการคิดเงินเดือน เพื่อประเมินภาษีที่ต้องจ่าย
วิธีคำนวณเงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี
สำหรับการคำนวณว่าเงินเดือนเท่าไหร่เสียภาษีก็สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยนำเงินเดือนคูณจำนวนเดือน หักลบด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน เช่น คุณมีรายได้จากการทำงานประจำและมีรายได้เพียงแค่เงินเดือนเท่านั้น ไม่มีรายได้จากงานพิเศษอื่น ๆ ที่เงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท ไม่มีเงินโอทีและไม่มีเงินโบนัสประจำปี ก็จะมีวิธีคิดภาษี ดังนี้
- เงินเดือน 20,000 บาท x จำนวน 12 เดือน = รายได้สุทธิทั้งปีรวมจำนวน 240,000 บาท
- นำค่าใช้จ่าย ที่ไม่เกิน 100,000 บาท มาหักลบออกจากรายได้รวม คือ
240,000 – 100,000 = 100,000 บาท
- หักด้วยค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท คือ 100,000 – 60,000 = 40,000 บาท
- หักด้วยเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม 9,000 บาท คือ 40,000 – 9,000 = รายได้สุทธิ 31,000 บาท และหากนำไปเทียบกับตารางจะพบว่าได้รับการยกเว้น
ดังนั้น ถ้าถามว่าเงินเดือน 20,000 เสียภาษีเท่าไหร่ คำตอบก็คือ เงินเดือนนี้จัดอยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง
ตารางกำคำนวณภาษี
เงินได้สุทธิต่อปี | อัตราภาษี | ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น* |
ไม่เกิน 150,000 บาท | ได้รับการยกเว้น | - |
150,001 - 300,000 บาท | 5% | 7,500 |
300,001 - 500,000 บาท | 10% | 20,000 |
500,001 - 750,000 บาท | 15% | 37,500 |
750,001 - 1,000,000 บาท | 20% | 50,000 |
1,000,001 - 2,000,000 บาท | 25% | 250,000 |
2,000,001 - 5,000,000 บาท | 30% | 900,000 |
5,000,001 บาท ขึ้นไป | 35% | - |
รู้แล้วว่าเงินเดือนเท่าไหร่เสียภาษี มีวิธีลดหย่อนภาษีได้อย่างไรบ้าง?
สิทธิ์ลดหย่อนจากเงินบริจาครูปแบบต่างๆ
การบริจาคให้แก่สาธารณะก็สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน โดยมีเงินบริจาคอยู่ทั้งหมด 3 แบบในกลุ่มนี้ ได้แก่
- เงินบริจาคให้แก่พรรคการเมือง ยื่นลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาท
- เงินบริจาคทั่วไป สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
- เงินบริจาคให้แก่โรงพยาบาลของรัฐ การกีฬา การศึกษา ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี สิทธิ์ลดหย่อนส่วนตัว ครอบครัว และอุปการะบุคคลทุพพลภาพ
สิทธิ์ลดหย่อนส่วนตัว เป็นสิทธิ์เบื้องต้นที่ทุกคนสามารถขอลดหย่อนได้สูงสุดคนละ 60,000 บาท และนอกจากลดหย่อนส่วนตัวแล้วในกลุ่มนี้ยังมีสิทธิ์อีกประเภท ที่เรียกว่าสิทธิลดหย่อนครอบครัวด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
- อุปการะผู้ทุพพลภาพ ในจำนวนคนละ 60,000 บาท
- ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ ที่จำนวนคนละ 30,000 บาท
- ลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท
- ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ในจำนวนไม่เกิน 60,000 บาท
- บุตรคนละ 30,000 บาท ที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป จะได้สิทธิ์ลดหย่อน 60,000 บาทสิทธิ์ลดหย่อนจากการออม การลงทุน และซื้อผลิตภัณฑ์ประกัน
สิทธิ์ในกลุ่มนี้เป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่นำเงินไปออม ลงทุน และทำประกันชีวิตในทุกช่องทาง ซึ่งรายละเอียดของสิทธิ์ลดหย่อนในกลุ่มนี้ ได้แก่
- ประกันสังคม สูงสุด 9,000 บาท
- ประกันสุขภาพของพ่อ-แม่ 15,000 บาท
- ประกันชีวิตแ ละประกันสะสมทรัพย์ สูงสุด 100,000 บาท
- ประกันชีวิตแบบบำนาญ ไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ ไม่เกิน 30,000 บาท
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการออม ไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ 30% ของเงินได้ไม่เกิน 500,000 บาท
- ลงทุนในกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ไม่เกิน 100,000 บาท
- กองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG Fund) ไม่เกิน 300,000 บาทสิทธิ์ลดหย่อนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
สิทธิ์ลดหย่อนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในปี 2567
- มาตรการ Easy-E-receipt โดยลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 50,000 บาท เมื่อซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมรายการ
- ค่าลดหย่อนท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัดลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 15,000 บาท หรือตามที่ใช้จ่ายจริง
สรุป เงินเดือนเท่าไหร่เสียภาษี พร้อมเช็กสิทธิ์ลดหย่อนได้ก่อนใคร
การยื่นภาษีเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำ ซึ่งเมื่อรู้แล้วว่าเงินเดือนเท่าไหร่เสียภาษี การเตรียมตัวให้ดีจะทำให้สามารถยื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสำหรับใครที่ดูแล้วว่าเงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี แต่เงินในมืออาจไม่พอ สินเชื่อออนไลน์ มันนี่ฮับ เป็นตัวช่วยในยามที่ต้องการใช้เงิน หรือหมุนเงินไม่ทัน เพื่อไม่ให้การจ่ายภาษีหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ กระทบต่อสถานะการเงินของเรามากจนเกินไป โดยสามารถสมัครได้ง่าย ๆ และไม่ต้องใช้บุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน แค่ยื่นกู้สินเชื่อออนไลน์ด้วยตนเองได้ง่าย ๆ ตลอด 24 ชม. สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @moneyhub