บางคนนั้น แทบจะไม่ได้ใช้จ่ายอะไรเลย แต่ก็ไม่ค่อยเหลือเก็บกันเท่าไหร่ ซึ่งส่วนมากแล้วก็อาจจะเกิดจากการที่ไม่ค่อยจะได้วางแผนการใช้จ่าย การเก็บออม ซึ่งในโลกปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้าน บางอย่างก็ค่อยๆ เปลี่ยน บางอย่างก็เปลี่ยนโดยฉับพลัน ลองนึกกันดูว่า ถ้าวันนี้คุณยังมีงาน มีเงินเดือนกิน มีบ้านอยู่และยังแข็งแรง แต่มาในพรุ่งนี้เกิดตกงาน ไร้บ้าน หรือป่วยหนัก เจออุบัติเหตุ ซึ่งเกิดขึ้นได้เสมอ แบบนี้ลำบากแน่ เราจึงนำแนวทางปฏิบัติทางด้านการเงิน ที่เป็นเทคนิคและทักษะที่จะทำให้เราอยู่รอดได้แบบไม่ลำบากมาก มีชีวิตอย่างมีคุณภาพในแต่ละวัน
มารู้จักกับ Mindset ทางด้านการเงินที่น่าสนใจ
อย่างที่กล่าวกันไว้แล้วในหัวข้อแรก ว่าบางคนดูเผินๆ ไม่ได้ใช้จ่ายอะไรในชีวิตประจำวัน แต่ก็ยังไม่มีเงินเหลือเก็บ ซึ่งคนส่วนนี้มีกันเยอะเสียด้วย แต่ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ดูจะมีชีวิตปกติ แต่ก็มีเงินเหลือเก็บชนิดที่ว่ามีอะไรฉุกเฉินก็ไม่เดือดร้อนมาก ซึ่งคนกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกันมากในเรื่องของการวางแผนการเงินในชีวิต
ซึ่งคนสองกลุ่มนี้นั้น มีไมด์เซ็ทที่แตกต่างกัน แบ่งออกเป็นสองรูปแบบคือ
- Fixed Mindset แปลกันได้แบบทื่อๆ ตรงตัวกันเลยว่า ไมด์เซ็ทแบบคงที่ ปรับเปลี่ยนไม่ได้ ไมด์เซ็ทแบบนี้นั้น ค่อนข้างจะอยู่กันยากในสังคมปัจจุบันที่ถ้าอยากมีความมั่นคงทั้งทางการเงินและทุกๆด้าน ก็ต้องปรับตัวกันขนานใหญ่ กับแนวคิดที่ว่า คนเก่ง ยังไงก็คือคนเก่งวันยังค่ำ ทั้งการใช้ชีวิต การออมเงิน ส่วนคนไม่เก่า ทำอย่างไรก็ไม่สามารถที่จะเก่งขึ้นมาได้ ถือว่าเป็นความน่ากลัวอย่างหนึ่งเพราะคนที่มีแนวคิดแบบนี้ร้อยวันพันปีก็ไม่สามารถที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมาได้
- Growth Mindset แปลได้ตรงตัวอีกเช่นกันว่า แนวคิดแบบเติบโต ซึ่งจะเป็นแนวคิดที่ว่า สิ่งต่างๆนั้น สามารถที่จะเติบโต หรือพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในสิ่งที่ดีขึ้นได้เสมอ พรสวรรค์นั้น จะอย่างไรก็ไม่เท่าพรแสวง ถ้ามีแนวคิดแบบนี้อยู่ในตัวก็นับว่าจะบรรลุจุดหมายได้ไม่ยาก รวมทั้งความมั่นคงของชีวิตแบบยั่งยืนอีกด้วย
แค่เปลี่ยนจากแนวคิดแบบแรกเป็นแบบที่สอง หลายๆ คนอาจจะมองกันว่ายากสักหน่อย แต่เอาเข้าจริงๆแล้ว ไม่ได้มีอะไรยากสักนิดเลย แต่อาจจะใช้เวลากันบ้าง ถึงแม้ว่าจะเป็นแนวคิดที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เล็กๆ ก็ตาม
ย้อนมาเรื่องทริคการเงินที่ทำให้ชีวิตดีขึ้นแบบยั่งยืน เริ่มต้นกันเลยในปีใหม่นี้เป็นไง ปีใหม่นี้มีเป้าหมายอะไรกันบ้างที่อยากจะเริ่มต้น เริ่มต้นจากเรื่องที่สำคัญก่อน อย่างแนวคิดที่ดีในทางการเงินหน่อย อยากจะเป็นคนใหม่ในร่างคนเก่านั้น เรื่องการเงินอาจจะดูเป็นเรื่องที่ดูใหญ่ แต่ก็สามารถทำได้โดยเริ่มจากสิ่งเล็กๆกันไปก่อน สามารถทำตามนี้ได้ทั้งมนุษย์เงินเดือน เจ้าของกิจการ คนที่ประกอบอาชีพอิสระหรือที่เรียกกันว่า ฟรีแลนซ์
- เพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ ด้วยการสังเกตตัวเองกันก่อนว่า ได้รับรายได้กันกี่ทางในปีที่ผ่านมาหรือช่วงที่ผ่านมา ส่วนมากแล้วจะมีเพียงแค่ 1-2 ช่องทางเท่านั้น จะดีไหมที่เราจะมีตะกร้าเก็บเงินเพิ่มขึ้น เป็น 3-4 ตะกร้าหรือมากกว่านั้นให้เราหยิบฉวยไว้ใช้ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการใช้แรงแลกเงิน เช่น การรับจ้างทำงานออนไลน์โดยใช้ Skill ตัวเองที่มีอยู่แล้ว การใช้เงินต่อเงิน เช่น การลงทุนทำขนมขาย ซื้อของมาทำกำไรแบบซื้อมาขายไป รวมไปทั้งการลงทุนในหุ้น ลงทุนในทองคำและกองทุนรวมต่างๆ เป็นต้น
- เช็คดูว่าเราใช้จ่ายเกินความจำเป็นหรือไม่ ตรงนี้อย่างที่บอกกันตั้งแต่ต้นเลยว่า หลายๆคนอาจจะไม่สังเกตตัวเองด้วยซ้ำว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่มากมายเกินความจำเป็น หลังเลิกงานอาจจะให้รางวัลตัวเองเป็นเบียร์สักขวดสองขวด หลายๆครั้งอาจจะเลยเถิดกันเป็นปาร์ตี้ใหญ่กันไปเลย หรือมี Gadget ใหม่ที่โดนใจก็เป็นอันต้องควักกระเป๋าจ่าย ถ้าถูกใจ ไม่มีคำว่าแพง รวมไปถึงค่าภาษีสังคม ลองนำมาคำนวณดูว่า 1 ปีนั้น เราใช้เงินค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปเท่าไหร่ จะพบเลยว่าค่อนข้างเยอะมากเหมือนกัน แนะนำเลยว่าถ้าตัดได้ก็ต้องตัด หรืออยู่ในระดับ 10-20 % ของรายได้ของเรา
- มีเงินออมเท่าไหร่ในรอบปี การออมเงินนั้น คิดกันง่ายๆเลยว่า 10-20% ของรายได้แต่ละเดือนนั้น จะถือว่าไม่มากไม่น้อยจนเกินไป ถ้าหากปีที่ผ่านมาไม่มีเงินออม ก็ขอให้เริ่มต้นด้วยหลักการนี้ จนถึงระดับที่ปลอดภัยคือ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน จะนับได้ว่าเป็นจำนวนเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วยกระทันหัน อุบัติเหตุ เป็นต้น
สรุป หลังจากทบทวนตัวเองเพื่อเตรียมตัวสำหรับแผนการเงิน หลังจากมาดูกันแล้วว่า ปีที่ผ่านมา หรือช่วงชีวิตที่ผ่านมานั้น เรามีจุดแข็งหรือจุดอ่อนอย่างไรบ้าง ควรจะเพิ่มจะลดในจุดไหน อะไรที่พลาดไปก็ถือว่าเป็นบทเรียนและค่อยๆปรับปรุงกันใหม่ ซึ่งทริคการเงินเพื่อช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้นแบบยั่งยืนนั้น บางอย่างก็อาจจะทำยาก แต่เชื่อเถอะว่า ถ้าหากใช้ความอดทน เพื่อนๆทำได้อย่างแน่นอน และในเมื่อปีหน้าทำได้ ทริคแบบนี้ก็สามารถจะใช้ได้ในปีถัดไป และทุกๆปี จนเป็นนิสัยที่ดีติดตัว เป็น Growth Mindset ในที่สุด