มีเงินสำรองไว้ใช้อุ่นใจกว่า แต่มีเท่าไหร่ถึงจะพอ

128 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มีเงินสำรองไว้ใช้อุ่นใจกว่า แต่มีเท่าไหร่ถึงจะพอ

   รายรับยังยืนยงยืนหยัดที่เดิม แต่รายจ่ายยังคงเดินเหมือนเดิม สถานการณ์ในตอนนี้เรียกว่าไม่มีอะไรแน่นอนเลยจริงๆ มีเรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้อยู่ตลอด บางเรื่องก็มาแบบกะทันหันตั้งตัวไม่ทัน ทั้งเรื่องโรคภัย ภัยธรรมชาติ อย่างที่พบกันอยู่ในตอนนี้อย่างน้ำท่วม รวมถึงเหตุการณ์อื่น ๆ อีกอย่างเช่น บริษัทปิดกิจการ, เจ็บป่วยกะทันหันส่งผลต่อการใช้ชีวิต, คนในครอบครัวเจ็บป่วยค่ารักษาพยาบาลสูง, อุบัติเหตุร้ายแรง
   ซึ่งเหล่านี้รวมเป็นเหตุผลที่เราควรจะมีเงินสำรอง หรือการออมเงินเพื่อสำรองฉุกเฉิน เผื่อไว้ในชีวิตด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนมักจะมองข้ามไป เพราะเราอาจจะคิดว่าตอนนี้มีเงินเก็บเพียงพอแล้วแต่ความจริงเราควรมีทั้งเงินเก็บและกันเงินส่วนหนึ่งสำหรับเป็นเงินสำรองยามฉุกเฉิน เพื่อใช้ในยามจำเป็นหรือตอนที่ต้องใช้เงินสำรองฉุกเฉินจริง ๆ โดยวันนี้เราจึงจะมาแชร์ให้เพื่อน ได้ทราบกันว่า การออมเงินเพื่อสำรองฉุกเฉิน คืออะไร และทำไมเงินสำรองฉุกเฉินถึงสำคัญกับชีวิตของคุณ


เงินสำรองฉุกเฉิน คืออะไร

   เงินสำรองฉุกเฉิน คือ เงินที่เก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน หรือการออมเงินเพื่อสำรองฉุกเฉิน กรณีที่ไม่สามารถวางแผนล่วงหน้าได้ เช่น ตกงาน อุบัติเหตุ เจ็บป่วย ซ่อมแซมบ้าน รถ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่คาดคิด โดยควรเก็บไว้ในที่ที่มีสภาพคล่องสูง เบิกถอนได้ทันที เช่น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ บัญชีเงินฝากประจำ กองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น เพื่อให้สามารถถอนออกมาใช้จ่ายในยามฉุกเฉินหรือเร่งด่วนได้โดยง่ายนั่นเอง


เงินสำรองฉุกเฉินมีความสำคัญอย่างไร

   จริง ๆ แล้วเงินสำรอง นั้นเป็นวิธีออมเงินที่มีประโยชน์ต่อทั้งตัวเราเองและคนใกล้ชิด โดยความสำคัญมีดังนี้

  1. ช่วยให้เรามีเงินใช้ยามฉุกเฉิน โดยไม่ต้องไปกู้ยืมเงินจากผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาระหนี้สินตามมาได้
  2. ช่วยให้เรารู้สึกอุ่นใจและมั่นคงทางการเงินมากขึ้น เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น เราจะไม่ต้องกังวลเรื่องเงินทอง เพราะมีเงินสำรองฉุกเฉินอยู่
  3. ช่วยให้เราสามารถวางแผนการเงินอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การลงทุน ซื้อบ้าน ซื้อรถ เป็นต้น


เงินสำรองเพื่อยามฉุกเฉิน ควรต้องมีเท่าไหร่ถึงจะพอ

   น่าจะเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย และคิดเหมือนกันว่า แล้วเงินสำรองนั้นจริง ๆ แล้วเราควรมีเท่าไร ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอาจได้คำตอบที่ระบุเลยคงยาก เพราะแต่ละคนมีรายรับและค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน จึงไม่ต้องไปหาสูตรให้วุ่นวาย เพียงแค่คิดง่าย ๆ แค่เก็บออมเงินตามสไตล์ที่เราสะดวก แต่ทั้งนี้การเก็บเงินตามเป้าหมายจะต้องทำอย่างต่อเนื่องมีความสม่ำเสมอเป็นสำคัญโดยมีเทคนิคในการเก็บ เงินสำรองฉุกเฉิน แบบง่ายๆ มาฝากกัน

  1. กลุ่มอาชีพพนักงานเอกชน

       พนักงานเอกชน เป็นกลุ่มคนที่มีรายได้ประจำที่อาจมีความเสี่ยงที่จะตกงานได้หากบริษัทประสบปัญหาหรือเศรษฐกิจชะลอตัว ดังนั้น เงินสำรองจึงควรมีอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนนั่นเอง
  2. กลุ่มอาชีพพนักงานข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ

       ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจมีรายได้ประจำที่มั่นคง มีโอกาสตกงานน้อย ดังนั้น เงินสำรองจึงอาจไม่ต้องมีมากเท่ากับกลุ่มอาชีพพนักงานเอกชน แนะนำว่าอาจเก็บเงินสำรองอย่างน้อย 2-4 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน
  3. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ

       กลุ่มนี้เป็นกลุ่มอาชีพที่มีรายได้ไม่แน่นอนเมื่อเทียบกับกลุ่มพนักงานประจำหรือข้าราชการ ดังนั้น จึงมีโอกาสตกงานหรือมีรายได้ลดลงได้สูง เงินสำรองจึงควรมีอย่างน้อย 6-12 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน


เคล็ดลับที่จะทำให้มีเงินสำรองฉุกเฉินเพียงพอ

   เชื่อว่าหลายคนในตอนอยากจัดการกองเงินที่มีอยู่ เพื่อให้มีเงินสำรองกันขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย ในเนื้อหาส่วนนี้จะพาทุกคนไปลงลึกถึงวิธีการบริหารเงินให้มีเงินสำรองฉุกเฉินกัน 3 วิธีดังนี้

  1. ออมเงิน

       ทันทีที่มีเงินเข้าบัญชี ควรจะหักออมเงินจำนวนหนึ่งราว 20 เปอร์เซ็นต์ไว้ในบัญชีสำหรับเป็นเงินสำรองเพื่อให้คุณรู้จำนวนคงเหลือที่สามารถใช้จ่ายได้ในแต่ละเดือน หากยังไม่เคยเก็บเงินเลย แนะนำให้ออมเงินแต่น้อยก่อนในช่วงแรกๆ อาจจะเริ่มต้นสัก 5%-10% ก่อน แล้วเมื่อปรับตัวได้ค่อยออมเงินเพิ่ม โดยเงินสำรองฉุกเฉินส่วนแรกเก็บไว้ในออมทรัพย์ 1-2 เดือน แต่ควรแยกบัญชีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินจะเป็นคนละส่วนกับบัญชีเงินออม ดังนั้นหากคนไม่มีเงินสำรองจะแนะนำให้เก็บเงินสำรองให้ครบตามจำนวนก่อน จากนั้นค่อยเป็นบัญชีเงินออม วิธีนี้จะทำให้คุณมีเงินสำรองแน่นอน
  2. จัดการวางแผนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น

       ซึ่งสำหรับใครที่จะต้องมีรายจ่ายที่ต้องจ่ายประจำอยู่แล้วก็สามารถแยกส่วนไว้ได้เลย และรายจ่ายอื่น ๆ ที่เกิดในแต่ละวันก็ควรมีการวางแผนการใช้เงินไว้เผื่อด้วย แต่ซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ถ้ายิ่งคุณทำการจ่ายด้วยบัตรเครดิตที่มีดอกเบี้ยและจ่ายชำระคืนแบบขั้นต่ำ รายจ่ายประเภทนี้จะยิ่งทวีคูณจนเป็นเงาตามตัวทำให้สุขภาพการเงินของคุณย่ำแย่ในระยะยาวกันเลยทีเดียว ดังนั้นถ้าเบาได้ก็ควรเบา
  3. เพิ่มรายได้

       บางคนค่าใช้จ่ายเยอะกว่ารายได้ไปมาก ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้เป็นเพราะความฟุ่มเฟือย แต่อาจด้วยเหตุผลบางประการจนเป็นผลทำให้ไม่สามารถออมเงิน หรือมีเงินสำรอง อาจจะหารายได้เสริมมาเพิ่ม เดี๋ยวนี้มีงานออนไลน์เยอะมากที่สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้อย่างเขียนบทความออนไลน์,ขายของออนไลน์ ,ฟรีแลนซ์กราฟฟิค ซึ่งทันทีที่เรามีรายได้เสริมก็มีเงินเพิ่มขึ้น ทยอยเก็บเงินไว้เป็นเงินสำรองได้ค่ะ

   มาถึงตรงนี้สิ่งหนึ่งที่เราอยากจะบอกให้หลาย ๆ คนเข้าใจกันมากขึ้นเกี่ยวกับการ มีเงินสำรอง ว่า ปริมาณของเงินสำรองสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของแต่ละคน บางเดือนที่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถแบ่งเงินออกมาเป็นเงินสำรองได้จริงๆ ก็ข้ามเดือนไปก่อนได้ การออมเงิน หรือเก็บเงินจะได้ไม่ตึงเครียดเกินไปจนรู้สึกไม่อยากทำอีก ยุคนี้เป็นที่อะไรไม่แน่นอนในชีวิตจริงๆ การออมเงินเพื่อสำรองฉุกเฉิน ถือเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเพราะท้ายที่สุดแล้วก็ไม่มีใครสร้างความมั่นคงให้กับเราได้เท่ากับตัวเราเอง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้