แชร์ 5 เคล็ดลับ ทำยังไงให้มีเงินใช้ถึงสิ้นเดือน

131 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แบ่งปัน 5 เคล็ดลับ ทำยังไงให้มีเงินใช้ถึงสิ้นเดือน

เชื่อว่าหลายคน ต้องเคยเจอกับปัญหา “เงินไม่มีใช้” กันแน่นอน ซึ่งก็เกิดได้หลายสาเหตุด้วยกันบางคนอาจเป็นเพราะสถานการณ์ชีวิต ไม่เอื้ออำนวย ทำให้มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ หรือบางคนพอเงินออกช่วงต้นเดือน ก็ใช้เงินเพลิน จนลืมแบ่งไว้ใช้ช่วงสิ้นเดือนที่เหลือ จึงต้องจำยอมใช้ชีวิตอย่างเจียมเนื้อ เจียมตัว เพื่อรอรับเงินเดือนรอบใหม่ Money Hub เคล็ดลับ บริหารเงิน ยังไงให้มีเงินใช้ถึงสิ้นเดือนสำหรับมนุษย์เงินเดือน เตรียมตัวดีตั้งแต่เนิ่น ๆ ให้มีเงินใช้พอ โดยไม่ต้องรู้สึกว่า "สิ้นเดือนจะสิ้นใจ"


5 เคล็ดลับ ทำยังไงให้มีเงินใช้ถึงสิ้นเดือน

   สำหรับเรา ๆ ชาวมนุษย์เงินเดือนการใช้เงินเดือนให้ถึงสิ้นเดือนได้นั้น เป็นเป้าหมายที่หลายคนตั้งใจ แต่ตัดมาในพาสของความเป็นจริงแล้ว แถบปาดเหงื่อไม่ทัน เพราะในแต่ละเดือนนั้นช่างเต็มกลืน บางเดือนยังไม่ทันจะถึงสิ้นเดือน เงินโปยบินไปก่อนแล้ว เรียกได้ว่าเงินไม่มีใช้ ถึงขั้นชักหน้าไม่ถึงหลังเป็นประจำ อาการนี้หลายคนก็พยายามแล้วที่จะหาวิธีแต่คิดอย่างก็คิดไม่ออก คิดวนไปเวียนมาเป็นร้อยตลบ วันนี้เรามี 5 เคล็ดลับดี ๆ ให้เหลือเงินถึงสิ้นเดือนมาฝาก เพียงแค่มีใจสู้และมุ่งมั่นที่จะทำ แค่นี้ก็สำเร็จไปครึ่งทางแล้วว่าแล้วเรามาเริ่มกันเลยดีกว่า เอ้า...พร้อมแล้ว..ลุย !!!!!

  1. แบ่งเงินที่เหลือให้เป็นสัดส่วน

       เชื่อว่าแต่ละคนก็มีความจำเป็นใช้เงินกันทุกคน แต่ละคนมีภาระจำเป็นกันเต็มไปหมด เงินออกปุ้บ หมดปั้บเหมือนอากาศ โชคดีหน่อยที่บางคนที่ยังคงเหลือแบบจาง ๆ ในกระเป๋า มีเหลือเท่าไหร่กันนะ จะทยอยเก็บ หรือจะใช้อย่างไรดี อาจจะเป็นการยากสักหน่อยถ้าจะให้ยึดตามหลักการที่ว่าต้องแบ่งเท่าไหร่ แต่ทางหนึ่งที่จะทำให้มีเงินเหลือชนเดือนได้ก็คือ  จงแบ่งเงินส่วนหนึ่งออกมาเก็บให้ได้ มีน้อยเก็บน้อย มีมากเก็บมาก ค่อย ๆ เก็บไปตามกำลัง แล้วค่อยเอาที่เหลือไปบรรจงใช้อย่างรอบคอบที่สุดให้ถึงสิ้นเดือน
  2. เงินเข้าปุ๊ป จ่ายออกปั๊บ

       มาถึงตรงนี้อย่าเพิ่งงง ว่าเอ๊ะตจริง ๆ จะมาช่วยแนะนำวิธีบริหารเงินให้อยู่รอดจนถึงสิ้นเดือน หรือจะมาแนะนำวิธีช้อปปิ้งให้หมดไว ๆ ยิ่งขึ้นหรือเปล่า ใจเย็นก่อน เพราะความจริงแล้ว สิ่งที่อยากจะสื่อคืออยากบอกว่า ถ้ามีรายจ่ายอันเป็นภาระแบบที่ต้องจ่ายแน่ ๆ อยู่แล้วเดือน พอเงินเดือนออกปุ๊ป ขอให้รีบไปชำระให้เสร็จ จะได้ตัดภาระไปเลยส่วนหนึ่ง แล้วค่อยมาบริหารเงินก้อนที่เหลืออยู่ ดีกว่าเอาเงินไปใช้จ่ายตามใจชอบจนหมด ซึ่งอย่างนี้คงไม่ดีแน่ อย่าว่าแต่ต้องอดข้าวจนผอมเลย โทรศัพท์ น้ำ ไฟ ก็อาจโดนตัดหมดไม่รู้ด้วยนะเออ ดังนั้นมีไรจำเป็นต้องไปชำระ ก็จงตัดใจไปจ่ายซะเลย
  3. ใช้ชีวิตแบบพอเพียง

       ข้อนี้สำคัญมาก ๆ เราควรปรับตัวให้เข้ากับสภาวะที่เกิดขึ้น มีน้อยใช้น้อยตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงคือสิ่งที่ดีที่สุด ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าสังคม ลดได้มั้ย ทำอย่างไรที่จะทำให้ต้นทุนชีวิตต่ำลงในแต่ละวันได้บ้าง ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ให้มีความสุขกับชีวิตเอาเสียเลย แต่จากที่เคยทานร้านอาหารที่แพง เราทานถูกลงได้มั้ย จากที่ตื่นสายบ่อย เลยต้องนั่งแท็กซี่ไปทำงาน แทนการใช้ขนส่งสาธารณะทั่วไป เราปรับตัวให้ตื่นเช้าขึ้นได้หรือเปล่า เป็นต้น เราสามารถมีความสุขในงบประมาณเราได้แน่นอนถ้าปรับตัว ลองดูนะ
  4. หารายได้พิเศษ

       เมื่อเงินไม่มีใช้ ไม่ว่าจะทำตัวแบบพอเพียงสุด ๆ แล้วก็ตาม แหล่งรายได้ที่ 2 ถือว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด โดยเริ่มจากการดูสิว่าเรามีความสามารถอะไร ที่ก่อเกิดรายได้เสริมได้  แล้วหาเวลาทำโดยไม่มีผลกระทบต่องานประจำ
  5. พยายามอย่าหาภาระให้ตัวเอง

       ยามที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง จะใช้จะจ่ายอะไร ต้องคิดให้รอบคอบ อะไรที่ไม่จำเป็นก็อย่าเพิ่งไปหาซื้อเพิ่ม หรือผ่อนส่ง โดยไม่จำเป็น อย่าไปเป็นหนี้บัตรเครดิตโดยเด็ดขาด ดูแลตัวเองให้รอดโดยไม่ต้องเอ่ยปากหยิบยืมจากใครหากไม่จำเป็น แต่ถ้ามีบ้างที่ต้องยืม ก็ควรคืนให้ตรงเวลา และอย่าทำให้ติดเป็นนิสัย ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้จะดีที่สุด


   บริหารเงินเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีการวางแผนให้รัดกุม ง่าย ๆ เริ่มจากการวางแผนค่าใช้จ่ายประจำเดือน ว่าหลักๆ มีอะไรบ้าง และจึงค่อยแบ่งให้เป็นสัดส่วน การวางแผนที่ดีนั้นสามารถปรับให้เหมาะสมกับตัวเองได้ และถ้ามีส่วนใดที่ไม่สามารถทำได้จริง หรือไม่ได้ผล ให้รีบปรับแก้แผนทันที ก็จะช่วยให้สามารถวางแผนทางการเงินได้อย่างไร้กังวล!

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้