เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงิน คนส่วนใหญ่จะนึกถึงแอปสินเชื่อเป็นหลัก และหลายๆ คนมักมีความคิดว่าไหนๆ จะเป็นหนี้แล้วก็กู้ให้เต็มที่ไปเลย เผื่อจำเป็นต้องใช้เงินฉุกเฉินในอนาคต โดยไม่ได้คำนึงถึงความจำเป็นในการใช้เงิน และภาระการผ่อนชำระรายเดือนที่จะตามมา ทำให้เมื่อผ่อนชำระไปได้สักระยะหนึ่งก็เกิดอาการผ่อนไม่ไหว ทำให้เป็นหนี้เสีย ในที่สุด
สังเกต 7 สัญญาณบ่งชี้คุณก่อหนี้เกินตัว
ลองมาสังเกตตัวเองกันหน่อยว่า เริ่มแหย่ขาข้างหนึ่งสู่การเป็นหนี้เกินตัวแล้วหรือยัง
ไร้เป้าหมายการใช้เงิน
หากไม่เคยคำนวณรายได้กับรายจ่ายเมื่อหักล้างกัน ไม่เคยวางแผนเงินเหลือเก็บต่อเดือน ไม่เคยแบ่งสัดส่วนค่าใช้จ่ายรายเดือนว่าหมดไปกับอะไรบ้าง ถือเป็นการไร้เป้าหมายที่น่ากลัว เพราะเป็นการการกระตุกให้เรามีนิสัยพร้อมจ่ายเร็วแบบไม่คิดหน้าคิดหลัง พอกพูนหนี้ทุกเดือนแบบไม่รู้ตัวจำไม่ได้ว่าตัวเองมีหนี้เท่าไร
อันนี้บอกเลยว่าเริ่มผิดวินัยทางการเงินร้ายแรง หากไม่เคยสนใจหรือรับรู้ว่าภาระผูกพันต้องชำระตอนสิ้นเดือน ได้แต่เพลิดเพลินไปกับการรูดบัตรเครดิตจ่ายไปตามบิลที่เรียกเก็บเท่านั้น มารู้อีกทีก็เมื่อโดนทวงหนี้ทางข้อความ ทางโทรศัพท์ หรือใบแจ้งยอดในกล่องไปรษณีย์ ที่มาพร้อมยอดหนี้บีบหัวใจให้หล่นไปถึงตาตุ่มไม่มีเงินเก็บสำรองไว้ฉุกเฉิน
เงินในบัญชีเข้ามาแค่ให้ตัวเลขได้เคลื่อนไหว ผ่านไปแค่ไม่กี่นาทีก็โบกมือลา อาการแบบนี้เชื่อว่าเมื่อเกิดดอุบัติเหตุกับตัวเองหรือสมาชิกครอบครัว ย่อมไม่มีเงินสำรองเพียงพอ ตัวช่วยหนึ่งทำได้ก็คือ ต้องหันไปพึ่งบัตรเครดิต แอปสินเชื่อเป็นหลัก หรือโทรหยิบยืมจากคนอื่น เพราะไร้สภาพคล่อง ต้องรีบแก้ไขนิสัยทางการเงินด่วนที่สุดยอดหนี้กว่า 40%ของรายได้
ให้รวมหนี้ที่ต้องจ่ายต่อเดือนทั้งหมด เช่น ค่าบ้าน ค่ารถ ค่าบัตรเครดิต หารด้วยรายได้ต่อเดือน แล้วคูณ 100 ถ้าออกมาเกิน 45% ของรายได้ นี่คือสัญญาณอันตราย เพราะเงินเกือบครึ่งที่ได้เทให้หนี้เก่าหมด โดยที่ยังไม่รวมค่าภาษี ค่าประกันสังคม เงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่ต้องควักอีกราว 20% ต่อเดือน และค่าใช้จ่ายรายวันอีกต่างหาก แบบนี้มีความเสี่ยงต้องกู้เงินมาใช้หนี้อีกต่อดินพอกหางหมู หนี้เก่าหนี้ใหม่พันกันรุงรัง
เพราะรายได้ไม่พอกับรายจ่ายที่มีมากเกิน จนต้องไปหาเงินส่วนอื่นมาโปะหนี้ไปเรื่อยๆ แต่ก็ชำระได้เพียงยอดขั้นต่ำ แถมต้องแลกกับดอกเบี้ยสูงปรี๊ด ถือเป็นการหมุนเงินในทางที่ผิด เพราะไม่สามารถชำระหนี้หมดทั้งก้อนได้ เงินต้นไม่ลด แถมดอกเบี้ยพอกพูนยังไปเรื่อยๆ เป็นปัญหาหนักในที่สุดกลัวเสียหน้า กลัวคนรู้ว่าเป็นหนี้
โดยเฉพาะคนใกล้ตัวในครอบครัวเดียวกัน แม้ใบเรียกชำระหนี้จะส่งเข้ามาในอีเมล์แล้ว แต่ก็ยังต้องกังวลกลัวว่าจะเป็นเรื่องน่าอาย และเสียหน้า จนทำให้รีบหาเงินเพื่อที่จะปลดหนี้ก่อนความแตกหนี้ล้นจนมีผลต่อการใช้ชีวิต
เพราะความเครียดที่ลุ่มเล้าจนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ขาดสมาธิทำงาน เพราะมัวแต่คิดวิธีหาเงินมาจ่ายหนี้ก้อนโต อาการนี้ต้องเข็นเข้าห้องไอซียูมาหลายคนแล้ว ทางออกที่ดีสุดคือการเริ่มต้นใหม่ ปฏิวัติวินัยการใช้เงินใหม่ ห้ามใช้จ่ายฟุ้งเฟ้ออีกเป็นอันขาด
ควรกู้สินเชื่อออนไลน์เท่าไหร่ ถึงจะเรียกว่า ‘พอดี’
หลายคนอาจสงสัยว่าควรกู้สินเชื่อออนไลน์เท่าไหร่ ถึงจะเรียกว่า ‘พอดี’ เรามีคำแนะนำง่ายมาให้คุณแล้ว โดยสามารถพิจารณาได้จากเรื่องต่อไปนี้
- ควรขอวงเงินกู้จำนวนเท่าใด ไม่ควรกู้มากเกินความจำเป็น ถึงแม้จะมีความสามารถในการผ่อนชำระก็ตาม เพราะ “หากกู้มากก็เสียดอกเบี้ยมากเช่นกัน”
- มีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือไม่ หลายๆ คนนิยมขอกู้แบบไม่มีหลักประกัน เพราะมองว่าง่าย สะดวก และรวดเร็ว แต่อาจจะลืมนึกไปว่าต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ดังนั้น หากมีหลักทรัพย์ควรนำมาค้ำประกันจะได้ดอกเบี้ยที่ถูกกว่าสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน
- ปัจจุบันมีภาระผ่อนมากเกินไปหรือไม่ ถ้าหากมีภาระผ่อนเกิน 50% ของรายได้ แสดงว่ามีภาระการผ่อนมากเกินไป ตัวอย่างเช่น เงินเดือน 20,000 บาท ไม่ควรมีภาระผ่อนเกิน 10,000 บาท คิดเป็น 50% ของรายได้
ดังนั้น หากต้องการสินเชื่อออนไลน์ควรเลือกประเภทวงเงินให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินไปใช้ ควรกู้เท่าที่จำเป็นต้องใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียดอกเบี้ยและภาระการผ่อนที่มากเกินไป ที่สำคัญไม่ควรมีภาระผ่อนเกิน 50% ของรายได้ และสำหรับใครที่กำลังต้องการตัวช่วย แอปสินเชื่อ “มันนี่ฮับ” พร้อมเป็นเพื่อนร่วมทางในการแก้ไขปัญหา สินเชื่อออนไลน์ ที่สามารถสมัครได้ง่าย ๆ ตลอด 24 ชั่วโมง รู้ผลไวโปร่งใส มีระบบมาตรฐาน หากสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @moneyhub