646 จำนวนผู้เข้าชม |
เป้าหมายของสินเชื่อส่วนบุคคลที่มาในรูปแบบของเงินก้อนนั้น จะสามารถนำเงินก้อนไปใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างตรงตามความต้องการมากที่สุด ไม่มีการกำหนดว่าจะใช้ผ่อนจ่ายสินค้าได้บางประเภทเท่านั้น ซึ่งทำให้ใครหลายคนนำเงินไปใช้ในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ เช่น การใช้จ่ายในสิ่งของที่อยากจะได้แบบที่ไม่จำเป็น หรือ นำเงินมาใช้จ่ายแบบไม่มีการวางแผนจนทำให้ติดกับดักหนี้ได้ง่าย ๆ และเพื่อป้องกันให้พนักงานออฟฟิศทั้งหลายไม่อยากติดกับดักหนี้ บทความนี้จะแนะนำทีเด็ดที่จะช่วยให้คุณรอดพ้นจากกับดักหนี้ได้สบาย ๆ สไตล์มนุษย์เงินเดือน ทีเด็ดมีดังต่อไปนี้
1. เลือกใช้สินเชื่อให้ถูกวัตถุประสงค์
หากคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ต่อเดือนไม่พอใช้ อาจจะต้องเริ่มต้นด้วยการตัดค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ไม่จำเป็นแทน หรือหารายได้เสริมเพื่อที่จะนำมาแก้ไขปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย ไม่ควรขอสินเชื่อมาเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือใช้จ่ายกับสิ่งฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็น ควรขอสินเชื่อเพื่อต่อยอดทางธุรกิจที่สร้างรายได้หรือลงทุนกับการเรียนที่นำไปต่อยอดสร้างรายได้ได้ ซึ่งรายได้ตรงนี้ที่ได้กลับมาจะสามารถนำมาจ่ายเงินสินเชื่อที่ได้ขอไปและช่วยเพิ่มรายได้ให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย
2. สภาพคล่องในภาพรวม
บางคนไม่มีการวางแผนการเงินที่ดี เมื่อทำการขอสินเชื่อก็ไม่ได้ทำการศึกษาว่าดอกเบี้ยที่เกิดจากยอดเงินที่ทำการขอสินเชื่อมานั้นต้องจ่ายในแต่ละเดือนสูงมากน้อยเพียงใด ซึ่งทำให้ไม่มองไม่เห็นสภาพคล่องในภาพรวม หากคุณศึกษาตารางการผ่อนจ่ายอย่างละเอียดก็จะทำให้สามารถเลือกได้ว่าจะขอวงเงินเท่าไหร่ที่จะสามารถจ่ายตามสภาพคล่องของคุณในแต่ละเดือนได้
3. งดสร้างหนี้เพิ่ม
ถ้าหากคุณพลาดในข้อสองจนเกิดการขาดสภาพคล่องทางการเงินเกิดขึ้น ไม่แนะนำให้ทำการสร้างหนี้เพิ่มด้วยการขอสินเชื่อส่วนบุคคลก้อนใหม่ เพราะว่านี่คือสัญญาณอันตรายที่สำคัญกำลังเกิดขึ้น ก็คือ คุณกำลังใช้สินเชื่อส่วนบุคคลมาใช้ผิดประเภทนั่นเอง การใช้จ่ายต่าง ๆ สามารถยืดหยุ่นได้หากเราวางแผนการเงินให้ดี อาจจะใช้สินเชื่อบางส่วนเพื่อช่วยลดภาระจำเป็นที่ต้องจ่ายเท่านั้น
4. มองค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ชัด
การมีเงินเดือนเข้าทุกเดือนถือว่าเป็นจุดเด่นของมนุษย์เงินเดือน แต่เงินจะออกช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับว่าคุณมองขาดไหมว่า ค่าใช้จ่ายต่อเดือนนั้นแท้จริงแล้วมีอะไรบ้าง เพื่อให้มองเห็นความสามารถในการชำระหนี้ที่จะเกิดขึ้นจากการขอสินเชื่อในแต่ละครั้งว่าสามารถจ่ายได้จริง ๆ หรือไม่ ขอยกตัวอย่างที่ดีที่จะทำให้คุณมองเห็นว่าการใช้สินเชื่ออย่างถูกต้องตรงวัตถุประสงค์ส่งผลที่ดีได้เช่นกัน มีพนักงานออฟฟิศสาวคนหนึ่งที่ได้ทำงานออฟฟิศมา 5-6 ปี สามารถเก็บเงินได้กว่า 200,000 บาทมีเป้าหมายที่จะศึกษาต่อ แต่ด้วยภาระทางบ้านที่มีความจำเป็นในเรื่องค่าใช้จ่ายจนเงินหมด แต่เพื่ออนาคตของตนเองเธอจึงขอสินเชื่อเงินก้อนบางส่วนและเก็บเงินจากเงินเดือนพร้อมหารายได้พิเศษเพิ่ม ทำให้สามารถเรียนจบโดยที่จ่ายสินเชื่อได้ครบตรงตามเวลา บางครั้งการขอสินเชื่อที่หลายคนอาจจะบอกว่าดอกเบี้ยแพงแต่สำหรับสาวออฟฟิศคนนี้เธอสามารถใช้ประโยชน์ของสินเชื่อส่วนบุคคลต่อยอดจนสร้างอนาคตที่ดีได้
5. หลีกเลี่ยงหนี้นอกระบบ
เมื่อการขอสินเชื่อในระบบเป็นเรื่องที่ยากขึ้นทำให้หลายคนเลือกที่จะมีหนี้นอกระบบ ยอมเสี่ยงกับดอกเบี้ยที่แสนแพงดอกร้อย 10 ต่อเดือนถือว่าเป็นดอกที่ถูกมากเพราะว่าบางที่สูงถึงร้อยละ 20 แถมมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะโดนทวงหนี้แบบโหด ๆ ดังนั้น หากเกิดสภาพคล่องทางการเงินไม่ไหวควรเจรจากับสถาบันทางการเงินดีกว่าเป็นหนี้นอกระบบ
6. Mind Set คือกุญแจ
ปัญหาหนี้เป็นเรื่องแก้ได้แน่นอน ค่อย ๆ มองหาทางออกสิ่งสำคัญต้องใจเย็นไม่ใจร้อนเป็นหนี้นอกระบบเด็ดขาด เพราะว่าจะทำให้รัฐบาลช่วยเหลือคุณได้ยากมากขึ้น หากไม่สามารถจ่ายเงินตามยอดที่ได้ตกลงไว้กับสถาบันทางการเงินในตอนแรกได้ แนะนำว่าให้ทำการเข้าเจรจากับสถาบันทางการเงินแต่เนิ่น ๆ ว่ามีทางเลือกอื่นไหมที่จะทำให้คุณสามารถเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินโดยที่ไม่เสียเครดิต ตัวอย่างเช่น ในช่วง 6 เดือนแรกอาจจะทำการผ่อนจ่ายขั้นต่ำสุดที่สามารถจ่ายได้แล้วจากนั้น 6 เดือนต่อไปทำการจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้เป็นไปตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งสามารถทำได้
สาระสำคัญที่แท้จริงของการใช้จ่ายเงิน ก็คือ การใช้จ่ายเงินให้ถูกต้องวัตถุประสงค์ที่แท้จริง คำว่า ของต้องมีหรือให้รางวัลชีวิตตัวเอง อาจจะต้องลด ๆ ไปบ้างหากสภาพคล่องทางการเงินของคุณกำลังตึง นับได้ว่าเป็นภูมิคุ้มกันชั้นดีที่จะปกป้องคุณจากการติดกับดักหนี้ได้ง่าย ๆ หากคุณมั่นใจว่ามีการวางแผนทางการเงินที่ดีและต้องการเงินก้อนเงินด่วนที่จะนำไปต่อยอดให้กับอนาคต ไม่ว่าจะเป็นทางด้านธุรกิจหรือทางการศึกษา ทางมันนี่ฮับมีสินเชื่อเงินก้อนที่ดอกเบี้ยต่อเดือนเพียงร้อยละ 2.75% แค่คุณมีรายได้ประจำเดือนละ 9,000 บาท ก็สามารถขอสินเชื่อได้สูงสุดถึง 50,000 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง @moneyhub