อยากเปลี่ยนงาน วางแผนการเงินอย่างไร หากมีเรื่องต้องใช้เงินด่วน

121 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อยากเปลี่ยนงาน วางแผนการเงินอย่างไร หากมีเรื่องต้องใช้เงินด่วน

แม้ว่าหลายๆ คนจะชอบงานของตัวเอง แต่บางครั้งก็อาจจะพูดได้ไม่เต็มปากว่าชีวิตการงานของตนนั้นไม่มีที่ติ เพราะแม้กระทั่งงานที่ดีที่สุดก็ยังต้องมีข้อเสียที่เราต้องยอมรับ และเมื่อคุณทำงานประจำมาถึงจุดหนึ่ง คุณอาจจะค้นพบตัวเอง และอยากลาออกจากงาน เพื่อไปทำงานที่คุณรักด้วยความพอใจ เช่น อยากออกมาเป็นฟรีแลนซ์รับงานอิสระ และต้องการความยืดหยุ่นในการทำงาน หรืออยากออกมาลงทุนเปิดร้านเป็นของตัวเอง เพราะคุณเชื่อว่าหากได้ทำในสิ่งที่รัก ชีวิตของคุณจะมีความสุขมากกว่านี้ แต่ช้าก่อน อย่าเพิ่งรีบด่วนตัดสินใจลาออกจากงาน หากยังไม่มีแผนการที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนการเงินที่ดี เพราะหากปราศจากการวางแผนที่ดี อาจทำให้การเงินของคุณสะดุด เงินขาดมือหรืออาจถึงขั้น เป็นหนี้เป็นสินกู้สินเชื่อส่วนบุคคลจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ เรียกว่าผิดแผน เครียดชีวิตพัง บทความนี้จึงอยากแนะนำให้เตรียมตัวก่อนลาออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือน ดังนี้


เมื่อตัดสินใจออกจากงานและเริ่มต้นใหม ต้องวางแผนการเงินให้ดี

   อยากเปลี่ยนงานจริงแล้วก็ยังไม่ถือเป็นวัยที่มากเกินไปนัก แต่ด้วยยุคนี้มีเด็กจบใหม่เยอะมาก บวกกับเงินเดือนระหว่างคนมีประสบการณ์สูงกับคนจบใหม่ต่างกันสิ้นเชิง ยิ่งถ้าคุณไม่ใช่ระดับหัวหน้า หรือมีทักษะในงานที่ทำสูงคงต้องคิดให้หนักยิ่งขึ้น แต่ถ้าหากลองทบทวนแบบแน่วแน่แล้วว่ายังไงก็อยากเปลี่ยนงานใหม่อยู่ดี สิ่งสำคัญลำดับแรกที่ควรรู้เอาไว้คือ วิธี “วางแผนการเงิน” ให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านเงิน ๆ ทอง ๆ ทั้งเรื่องเงินเดือนหมดทั้งทียังหางานใหม่ไม่ทัน มีเรื่องต้องใช้เงินเร่งด่วน ฉุกเฉิน แต่เงินสำรองไม่เพียงพอ บางคนเวลาผ่านไปหลายเดือนยังหางานใหม่ไม่ได้เสียทีก็เริ่มเข้าสู่สภาวะเงินไม่พอใช้ ลองมาดูกันว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

  1. เริ่มเก็บเงินเอาไว้ใช้สำรองตั้งแต่ยังไม่คิดออกจากงาน

       หากคิดวางแผนการเงินให้ดีข้อนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก คุณควรเก็บเงินสำรองเอาไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉินตั้งแต่ยังไม่คิดออกจากงานเก่าด้วยซ้ำ อาจเลือกเก็บแยกบัญชีต่างหากโดยไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวใด ๆ เลย เฉลี่ยไว้เดือนละ 5-10% ของรายได้ เมื่อมีเงินก้อนนี้อยู่ ต่อให้แผนเกี่ยวกับการหางานใหม่ไม่เป็นไปตามเป้า เกิน 3 เดือนแล้วแต่ยังไม่งานก็ไม่ถือว่าเดือดร้อนเกินไปนัก
  2. อาชีพเสริม

       ใครอยากลาออก อย่าเพิ่งลาออกในทันที แต่ให้ใช้ช่วงเวลาหลังเลิกงานและวันหยุดสุดสัปดาห์ลองทำอาชีพเสริมที่อาจกลายเป็นอาชีพหลักในอนาคต อย่างการขายของออนไลน์ ลงทุนคอนโด ทำคลิปท่องเที่ยว ฯลฯ ซึ่งถือว่าการทำอาชีพเสริมเป็นการปูทางไปสู่ธุรกิจส่วนตัวได้อย่างมั่นคง เพราะถ้าลองทำแล้วไม่ใช่ ก็มีเวลาลองใหม่จนเจออาชีพที่สร้างตัวได้อย่างแท้จริง
  3. หนี้สิน

       ใครที่อยากลาออกต้องเตรียมตัวเข้าป่า ฟิตร่างกายให้พร้อมที่สุด เช่นเดียวกับการลาออกจากงานประจำต้องวางแผนการเงิน เพื่อเคลียร์หนี้สินที่กู้สินเชื่อส่วนบุคคลออกไปก่อนให้มากที่สุด โดยหนี้สินทั้งหมดไม่ควรเกินทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ แต่หากยังทำไม่ได้ แนะนำให้เก็บความคิดที่อยากลาออกเอาไว้ก่อนจะดีกว่า
  4. บัตรเครดิต

       แค่ชื่อก็บอกแล้วว่าคนที่มีเครดิตเท่านั้นถึงจะทำได้ โดยผู้สมัครบัตรเครดิตต้องมีรายได้มั่นคงขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือนและมีประวัติการชำระเงินที่ดี หลังจากที่ได้รับการอนุมัติให้กลายเป็นผู้ถือบัตรแล้ว ส่วนใหญ่จะไม่มีการตรวจสอบรายได้อีก ดังนั้นก่อนลาออกควรสมัครบัตรเครดิตไว้หลายใบเอาที่มีสิทธิประโยชน์คุ้มค่าและค่าธรรมเนียมรายปีขอยกเว้นได้โดยง่าย เพื่อใช้รูดไปก่อนแล้วค่อยจ่ายทีหลัง แถมยังจ่ายถูกกว่าชำระด้วยเงินสด โดยต้องไม่ลืมว่าพอใบแจ้งหนี้มา ก็ไปชำระตรงเวลาแบบเต็มจำนวนด้วย
  5. ประกันสังคม

       สิ่งสำคัญวางแผนการเงิน เมื่อตัดสินใจลาออก คือ จะต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงานเพื่อรับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย และ หลังจากลาออกภายใน 6 เดือนควรยื่นสมัครเป็นสมาชิกประกันสังคมต่อแบบผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 เพื่อมีสิทธิประโยชน์คุ้มครองรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ และรักษาสิทธิเงินออมชราภาพ
  6. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

       กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยให้มนุษย์เงินเดือนมีเงินก้อนในวัยเกษียณ แต่การลาออกทำให้ต้องออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อนวัยอันควรและต้องนำมาคำนวณเสียภาษีเงินได้อีกด้วย ข่าวดีปัญหานี้มีทางออกแล้วโดยในปี 2558 พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฉบับใหม่ ให้โอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไปอยู่ในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF ได้ทำให้สามารถเลือกรูปแบบการลงทุนได้หลากหลาย และสะสมเงินไว้จนถึงเกษียณ ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้


   ชีวิตไม่ใช่เรื่องล้อเล่นไม่ควรปล่อยให้เงินสะดุด ใครอยากลาออก แต่ยังไม่มีความมั่นคงทางการเงิน ก็อย่าเพิ่งใจร้อน แม้ว่าจะออกจากงานได้ช้าลง แต่ก็มั่นใจได้ว่าฐานะการเงินปลอดภัย กล่าวโดยสรุป ความมั่งคั่งหรือความสำเร็จทางการเงิน แท้จริงแล้วไม่ได้ขึ้นอยู่ว่าคุณทำงานประจำหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองว่าอยากเป็นใคร มีเป้าหมายชีวิตในอนาคตอย่างไร และเริ่มต้นทำวันนี้อย่างไรต่างหาก เพราะหากลาออกจากงานโดยปราศจากเป้าหมายและแวางแผนการเงินที่ดี ชีวิตคุณอาจพังจนอาจทำให้ต้องตัดสินใจกู้สินเชื่อส่วนบุคคล และอาจต้องกลับมาเป็นมนุษย์เงินเดือนตามเดิมก็เป็นได้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้